หมวดหมู่: พลังงาน

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (2-6 มี.ค. 58)  

  ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ยังคงผันผวน ติดตามการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วันที่ 5 มี.ค นี้ ถึงความคืบหน้าของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)  รวมถึง& 61607;จับตาทิศทางเศรษฐกิจของกรีซและยูโรโซน หลังรัฐมนตรีคลังยูโรโซนอนุมัติให้ขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซออกไปอีก 4 เดือน  อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันต่อเนื่อง จากการที่โรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ ในเขต East Coast ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบอ่อนตัวลง นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากอุปทานน้ำมันดิบที่ยังคงล้นตลาด และอุปสงค์น้ำมันดิบที่อาจปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น โดยเฉพาะยิ่งในเอเชีย

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  ติดตามการประชุมECB วันที่ 5 มี.ค. ถึงความคืบหน้าของมาตรการ QE โดย ECB จะเริ่มฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ในเดือน มี.ค. นี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาและรับมือกับภาวะเงินฝืดในยูโรโซน โดย ECB ได้ดำเนินมาตรการ QE เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวจะมีมูลค่าอย่างน้อย 1.1 ล้านล้านยูโร (1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยมาตรการนี้จะมีผลตั้งแต่เดือน มี.ค. 2558 จนถึงเดือน ก.ย. 2559

  ติดตามทิศทางเศรษฐกิจของกรีซและยูโรโซน หลังรัฐมนตรีคลังยูโรโซนอนุมัติให้ขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซออกไปอีก 4 เดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการอนุมัติแผนปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลกรีซไปแล้วเมื่อวันที่ 24 ก.พ.58 โดยกรีซจะดำเนินการตามแผนปฏิรูปเศรษฐกิจนี้ในเดือน ก.ค.  ซึ่งมาตรการต่างๆประกอบด้วย การปราบปรามการเลี่ยงภาษี การจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาการลักลอบขนส่งเชื้อเพลิงและยาสูบ การปฏิรูปด้านแรงงาน ซึ่งทางยูโรโซนเผยว่าแผนการดังกล่าวค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ตลาดเริ่มผ่อนคลายความกังวลจากการที่กรีซอาจจะต้องเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ และพ้นจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน ซึ่งอาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจของยูโรโซน

  โรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ ในเขต East Coast ยังคงได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบอ่อนตัวลง นอกจากนี้โรงกลั่นดังกล่าวอาจต้องชะลอการผลิตน้ำมันสำเร็จรูป จึงทำให้ตลาดเกิดความกังวลต่อปริมาณน้ำมันสำหรับทำความร้อนที่อาจตึงตัวในระยะสั้น

  ตลาดน้ำมันดิบอาจได้รับแรงกดดันในช่วงไตรมาส 2 ที่จะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบปรับตัวลดลง และกดดันราคาน้ำมันดิบ ทั้งนี้ อุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินจากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกทั่วโลกยังคงล้นตลาดอยู่ราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

  ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตจีน (PMI) ดัชนีภาคการบริการจีน (PMI) ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน (Markit PMI) ดัชนีราคาผู้ผลิตยูโรโซน ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน ยอดค้าปลีกยูโรโซน จีดีพี Q4/14 ยูโรโซน ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM PMI) รายได้นอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ และอัตราการว่างงานสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (23-27 ก.พ. 58)

  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 0.58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 49.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 2.36 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 62.58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอย่างผันผวนและปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการน้ำมันสำหรับทำความร้อนในสหรัฐฯ และตัวเลขการขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากการที่รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย ออกมาคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากการที่สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (American Petroleum Institute-API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่อุปสงค์น้ำมันดิบลดลง หลังการประท้วงของสหภาพแรงงานของโรงกลั่นน้ำมัน 12 แห่งในสหรัฐฯ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติ

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!