หมวดหมู่: พลังงาน

1eb18


สนธิรัตน์ แจงกลไกการทำงานกองทุนอนุรักษ์ฯมีโครงสร้างและหลักเกณฑ์ชัด ย้ำจุดยืนการทำงานที่ก.พลังงานเน้น โปร่งใส ตรวจสอบได้

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานชี้แจงกลไกการทำงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานปี 63 มีโครงสร้างการทำงานและหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่เน้นความโปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้กองทุนอนุรักษ์ฯมีส่วนช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แก้ภัยแล้ง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ พร้อมย้ำจุดยืนในการทำงานที่กระทรวงพลังงานจะไม่เปิดโอกาสให้มีการแทรกแซงอย่างแน่นอน

     นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ต้องการสร้างความชัดเจนให้เห็นถึงกลไกของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในปี 2563 นี้ว่ามีแนวทางการทำงานอย่างไร  โดยในส่วนของผู้มีสิทธิ์ยื่นขอรับการสนับสนุนโครงการนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทหน่วยงานทั่วๆ ไป ได้แก่ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา หรือองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับพลังงานโดยตรง ซึ่งหากหน่วยงานไหนขอจะให้หน่วยงานหรือคนอื่นทำแทนไม่ได้ เพราะมีเงื่อนไขหลักเกณฑ์กำหนดไว้ และอีกประเภทคือปีนี้จะมีอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อยื่นขอรับการสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับพลังงานชุมชน หรือที่เรียกว่าสถานีพลังงาน เพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานไปเชื่อมโยงด้านต่างๆ เช่น เชื่อมโยงด้านการเกษตร เชื่อมโยงต่อยอดด้านการตลาด เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการฯนี้มีทั้งเกษตรจังหวัด ธกส. คลังจังหวัด พลังงานจังหวัดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบโครงการที่ปีนี้เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อหวังใช้กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

    นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ในการพิจารณากลั่นกรองคัดเลือกโครงการในปีนี้จะเพิ่มเติมต่างจากที่ผ่านมาจะใช้เกณฑ์ในเรื่องของโครงการที่สามารถพัฒนาต่อยอด เช่น ก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนเป็นหลัก และที่สำคัญปีนี้กองทุนฯมีโครงสร้างบริหารงานผ่านคณะอนุกรรมการ 4 ส่วน ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการกองทุนฯ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน จะดำเนินการในเรื่องของการวางยุทธศาสตร์ นโยบายและทิศทางของพลังงานไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการอนุมัติโครงการ 2.คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯ คณะอนุกรรมการ ทำหน้าที่กลั่นกรองและเสนอความเห็นเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี/แผน/งาน/โครงการ ต่อคณะกรรมการกองทุนฯ 3.คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้ จุดประสงค์เพื่อให้ทุกเม็ดเงินที่ได้รับการสนับสนุนไปมีการติดตามประเมินผลก่อนและหลังโครงการว่าเกิดผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งถือเป็นเรื่องที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญ และ 4.คณะอนุกรรมการบริหารสำนักงานบริหารกองทุนฯ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานฯให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    ทั้งนี้ กระบวนการยื่นโครงการก็ผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ จะวางรายละเอียดหลักเกณฑ์โครงการ และหากมีโครงการเข้าหลักเกณฑ์แล้วยังต้องนำเสนอต่อไปยังคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานอีกเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดจะให้ความสำคัญกับกระบวนการที่ไม่ให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เน้นวางโครงสร้างหลักเกณฑ์การทำงานที่ให้เกิดความโปร่งใส ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งปีนี้ก็จะเป็นปีแรกที่โครงการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจะถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานฯ เพื่อเปิดเผยให้สาธารณะตรวจสอบได้

    “ขอยืนยันการทำงานของผมที่กระทรวงพลังงานมีจุดยืนในการทำงานที่พร้อมจะเปิดเผย เพื่อสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ให้เกิดขึ้น ข้อกังวลประเด็นการเมืองที่จะเข้ามาแทรกแซงการทำงานของกองทุนอนุรักษ์ฯ นั้น ขอย้ำว่าจะไม่เปิดโอกาสให้ใครใช้อำนาจเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ ซึ่งหากใครมีเบาะแสความไม่โปร่งใสก็ขอให้ร้องเรียนเข้ามาจะดำเนินการตรวจสอบทันที จึงขอให้ความมั่นใจได้ว่ากระบวนการพิจารณาอนุมัติโครงการของกองทุนอนุรักษ์ฯ มีความชัดเจนในตัว เป็นไปอย่างเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อให้กลไกของกองทุนอนุรักษ์ฯสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แก้ปัญหาภัยแล้ง ช่วยให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพสมดังเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกองทุน” นายสนธิรัตน์ กล่าวสรุปในตอนท้าย

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!